วันพฤหัสบดีที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

จังหวัดสุรินทร์

จังหวัดสุรินทร์



จังหวัดสุรินทร์นั้นมีประวัติศาสตร์ยาวนาน มาเกือบ 2,000 ปีแล้ว ซึ่งดูได้จากหลักฐานการค้นพบว่ามีการตั้งชุมชนของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ คือยุคโลหะตอนปลาย ซึ่งดูได้จากการที่พบเครื่องมือเครื่องใช้ที่ใช้เหล็กเป็นส่วนประกอบ จากสภาพภูมิศาสตร์ของจังหวัดสุรินทร์ซึ่งอยู่ติดกับอาณาจักรของโบราณ จึงทำให้จังหวัดสุรินทร์นั้นได้รับวัฒนธรรมของขอมมาโดยตลอด ตั้งแต่ศตวรรษที่ 12 เป็นต้นมา แต่หลังจากที่ขอมเสื่อมอำนาจลง ก็ไม่ปรากฏหลักฐานของชุมชนในดินแดนนี้อีกเลย ล่วงมาถึงยุคกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย พ.ศ. 2260 จึงปรากฏหลักฐานอยู่ในพงศาวดารอีสานอีกครั้งหนึ่ง โดยชาวพื้นเมืองกลุ่มหนึ่งที่รู้จักกันทั่วไปว่า “ส่วย” หรือ “กูย” ซึ่งชาวพื้นเมืองกลุ่มนี้อยู่อาศัยในแถบเมืองอัตปือแสนแป แคว้นจำปาศักดิ์ ซึ่งขนาดนั้นเป็นของดินแดนไทย ชาวส่วยหรือกูยนี้เป็นผู้ที่มีความชำนาญด้านการจับช้างป่ามาเลี้ยงไว้ใช้งาน พากันอพยพข้ามแม่น้ำโขงสู่ฝั่งขวา เมื่อมาถึงแล้วต่างก็แยกย้ายไปตั้งชุมชนที่เมืองลีง อำเภอจอมพระ บ้านโคกลำดวน อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ บ้านอัจจะปะนึ่ง อำเภอสังขะ และบ้านกุดปะไท อำเภอศีขรภูมิ ล่วงจนถึงปี พ.ศ. 2303 ได้มีหัวหน้าชาวกูยสามารถจับช้างเผือกที่แตกโรงมาคือให้แก่ราชสำนัก และต่อมาก็ได้ส่งส่วยและของป่าให้กับราชสำนักอีกด้วย จนได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์และยกบ้านที่ปกครองขึ้นเป็นเมือง ในปี พ.ศ. 2306  หลวงสุรินทร์ภักดีหรือเชียงปุม หัวหน้าหมู่บ้านเมืองที ได้ขอให้เจ้าเมือง พิมายกราบบังคมทูลขอพระกรุณาโปรดเกล้าฯ จากพระเจ้าอยู่หัว พระที่นั่งสุริยามรินทร์ย้ายหมู่บ้านจากบ้านเมืองที มาตั้งอยู่ที่บริเวณบ้านคูประทาย ซึ่งเป็นที่ตั้งเมืองสุรินทร์ในปัจจุบัน เนื่องจากเห็นว่าเป็นบริเวณที่มีชัยภูมิเหมาะสม มีกำแพงค่ายคูล้อมรอบ 2 ชั้น มีน้ำอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การประกอบอาชีพและอยู่อาศัยต่อมาหลวงสุรินทร์ภักดี ได้กระทำความดีความชอบเป็นที่โปรดปรานของพระเจ้าอยู่หัวพระที่นั่งสุริยามริ นทร์ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ยกบ้านคูประทายเป็นเมืองประทายสมันต์และเลื่อน บรรดาศักดิ์หลวงสุรินทร์ภักดีเป็นพระยาสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์จางวางให้ เป็นเจ้าเมืองปกครอง ในปี พ.ศ. 2329 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อเมืองประทายสมันต์เป็น เมืองสุรินทร์ ตามสร้อยบรรดาศักดิ์เจ้าเมือง

จังหวัดสุรินทร์นอกจากจะมีประวัติศาสตร์ ความเป็นมายาวนานแล้ว ยังมีสิ่งที่น่าสนใจหลายอย่าง ที่ขึ้นชื่ออย่างมากก็คือช้าง ซึ่งอย่างที่ทราบกันแล้วว่าบรรพบุราของชาวจังหวัดสุรินทร์นั้นถนัดในเรื่อง การจับช้างป่ามาใช้งาน นอกเหนือจากนั้นก็จะเป็นการทอผ้าไหมที่ได้รับความนิยมไปถึงต่างชาติ และด้วยเหตุที่เคยตกอยู่ภายใต้อาณาจักรขอมโบราณมาก่อน จังหวัดสุรินทร์จึงเต็มไปด้วยโบราณสถานประเภทปราสาทมากมายสมดัวคำขวัญที่ว่า “สุรินทร์ ถิ่นช้างใหญ่ ผ้าไหมงาม ประคำสวย ร่ำรวยปราสาท ผักกาดหวาน ข้าวสารหอม งามพร้อมวัฒนธรรม”

*เรียบเรียงโดย กินเที่ยวทั่วไทย
**ขอขอบคุณภาพจาก http://pop19-pop.blogspot.com/2011/09/blog-post_7655.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น