วันพฤหัสบดีที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

เต้าหู้ย่างซีอิ๊ว

เต้าหู้ย่างซีอิ๊ว


เต้าหู้ กำเนิดมากว่า 2,000 ปีในจีนแผ่นดินใหญ่ คนจีนบางกลุ่มถือว่าเต้าหู้เป็นอาหารที่มีคุณค่าสูงที่อยู่ในความธรรมดาสามัญ คนไทยเรียกเต้าหู้เพี้ยนมาจากภาษาจีนว่า โตวฟู คนฮกเกี้ยนเรียกว่า ต้าวกั่ว คนญี่ปุ่นเรียกกันว่า โทฟุ (tofu) คนอังกฤษเรียก bean curd หรือบางครั้งก็เรียกทับศัพท์ว่า tofu เช่นกัน ส่วนชาวฝรั่งเศสเรียกว่า fromage de soja (ชีสถั่วเหลือง)
เต้าหู้ ก้อนแรกเกิดขึ้นในประเทศจีน เล่าขานกันว่า เจ้าชายหลิวอัน (พระนัดดาของจักรพรรดิหลิวปัง กษัตริย์องค์แรกของราชวงศ์ฮั่น) สั่งให้พ่อครัวบดถั่วเหลืองให้เป็นผงแล้วนำไปต้มเป็นน้ำซุปด้วยเกรงว่ารสจะ จืดเกินไป จึงโปรดให้พ่อครัวเติมเกลือลงไปปรุงรส เพื่อถวายพระมารดาซึ่งประชวรหนักจนไม่มีแรงที่จะเคี้ยวอาหารได้
น้ำซุปถั่วเหลืองนั้นค่อยๆ จับตัวข้นเป็นก้อนสีขาวนุ่มๆ เมื่อพระมารดาเสวยแล้วถึงกับรับสั่งว่าอร่อย เจ้าชายจึงให้เหล่าพ่อครัวค้นหาสาเหตุ จึงพบว่าเกลือบางชนิดมีผลทำให้ผงถั่วเหลืองผสมน้ำเกิดการเกาะตัวขึ้นเป็นเต้าหู้
ชาว ญี่ปุ่นรู้จักการปลูกถั่วเหลืองมานานแล้ว เต้าหู้เดินทางเข้ามาในญี่ปุ่นในสมัยนารา มีการบันทึกว่า เคนโตะ พระญี่ปุ่นนำเต้าหู้มาเผยแพร่หลังจากกลับมาจากการศึกษาพุทธศาสนาที่ประเทศ จีน แต่ยังเป็นอาหารที่ รับประทานกันในหมู่พระญี่ปุ่น ร้อยปีถัดมา เต้าหู้จึงได้มาเป็นส่วนหนึ่งในเมนูของชนชั้นขุนนางและซามูไร ส่วนประชาชนได้ลิ้มรสในสมัยเอโดะ
แต่พวกเขาเพิ่งรู้จักวิธีดัดแปลงถั่วเหลืองนำไปปรุงเป็นเต้าหู้เมื่อพุทธศตวรรษที่ 7 โดยทางพุทธศาสนา แต่ศาสนาพุทธในสังคมญี่ปุ่นสมัยนั้นเป็นศาสนาของชนชั้นกลางและชนชั้นสูงบทบาทเต้าหู้ในอาหารญี่ปุ่นจึงจำกัดไว้กับคนเฉพาะกลุ่มซึ่งแตกต่างจากจีนที่ไม่มีการแบ่งชนชั้น
วิธีการเตรียมอาหารจีน และญี่ปุ่นต่างกัน คือ คนจีนพยายามดัดแปลงเต้าหู้ในรูปแบบต่างๆ มากมาย เช่น อาจเปลี่ยนรูปทรงหรือรสชาติไป ในขณะที่คนญี่ปุ่นกลับพยายามรักษาความเรียบง่ายรวมทั้งรสชาติ รูปทรงและสีสันของเต้าหู้ให้คงไว้อย่างเดิมให้มากที่สุด พร้อมกับเสิร์ฟในจานหรือถ้วยที่สวยงามจนถือว่าเป็นศิลปะขั้นสูงแขนงหนึ่ง
เต้าหู้ เป็นผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองซึ่งให้คุณค่าทางโภชนาการสูงโดยเฉพาะโปรตีน ซึ่งให้โปรตีนมากกว่าเนื้อสัตว์บางชนิดถึง 2 เท่าในปริมาณที่เท่ากันและมีราคาถูกอีกด้วย
ถั่ว เหลืองซึ่งนำมาผลิตเป็นเต้าหู้ยังมีเลซิติน ซึ่งมีผลในการลดไขมันและช่วยสงเสริมการทำงานของระบบประสาทที่เกี่ยวกับความ ทรงจำ รวมทั้งฮอร์โมนจากพืชที่เรียกว่า ไฟโตเอสโทรเจน ที่มีการวิจัยพบว่ามีผลในการป้องกันมะเร็งและมีผลดีต่อผู้หญิงวัยทองคือช่วย ชะลอภาวะหมดประจำเดือนและลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านม
จึงสรุปได้ว่า เต้าหู้เหมาะกับทุกคนในครอบครัวโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ใหญ่วัย 40 ปีขึ้นไปเพราะเต้าหู้จะช่วยให้ระบบการย่อยทำงานได้ดีขึ้น
                ที่นี่เราลองมาเอาเต้าหู้มาทำอาหารกินกัน เมนูเด็กสำหรับสุขภาพในวันนี้ก็คือ “เต้าหู้ย่างซีอิ๊ว”

ส่วนผสม
เต้าหู้อ่อนกึ่งแข็งหั่นชิ้นสี่เหลี่ยม 400 กรัม
ซีอิ๊วขาว 2 ช้อนโต๊ะ
ซอสหอยนางรมเจผสมเห็ดหอม 4 ช้อนโต๊ะ
น้ำมันงา                4 ช้อนชา
น้ำตาลทราย          1 1/2 ช้อนชา
ขิงสับละเอียด       1 ช้อนชา
พริกไทยป่น          1/2 ช้อนชา
งาขาว     1 ช้อนชา
งาดำ       1 ช้อนชา
ขิงดอง  
ผักสด เช่น แครอทขูดฝอย ผักสลัด                

วิธีทำ
1. ผสมซีอิ๊วขาว ซอสหอยนางรมผสมเห็ดหอม น้ำมันงา น้ำตาลทราย ขิงสับละเอียด พริกไทยป่น คนให้ส่วนผสมละลายเข้ากัน
2. ใส่เต้าหู้ลงในน้ำซอสปรุงรสข้อ 1 โรยงาขาวและงาดำคลุกเคล้าให้เข้ากันหมักไว้ 20 นาที
3. ย่างเต้าหู้ให้สุกและมีกลิ่นหม ทาด้วยน้ำซอสปรุงรสซ้ำหลายๆครั้ง ขณะย่างเต้าหู้
4. เคี่ยวน้ำซอสปรุงรสที่เหลือจากการหมักเต้าหู้ให้พอเดือด ยกลง
5. จัดเต้าหู้ย่างซีอิ๊วใส่จาน ตกแต่งด้วยผักสลัด แครอทและขิงดอง ราดด้วยน้ำซอสปรุงรสที่เหลือบนเต้าหู้ย่าง จัดเสิร์ฟขณะร้อน

หมายเหตุ
- การ เลือกเต้าหู้สำหรับนำมาย่างไม่ควรเลือกชนิดอ่อนหรือแข็งเกินไปเพราะจะทำให้ ไม่ได้เนื้อสัมผัสของเต้าหู้และซอสปรุงรสไม่ซึมเข้าไปในเนื้อเต้าหู้
- การย่างสามารถย่างบนกระทะเทฟลอนแบบร่องหรือตะแกรงย่างได้ทั้ง 2 แบบ

ขอบคุณภาพประกอบโดย http://www.dumenu.com/recipe/220
ข้อมูลเต้าหู้จาก http://th.wikipedia.org/wiki
เรียบเรียงโดย “รวมพลคนเข้าครัว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น