วันพุธที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

นมัสการพระพุทธรูปใส่แว่นตาดำ



นมัสการพระพุทธรูปใส่แว่นตาดำ

            พระพุทธรูปที่เป็นที่เคารพสักการของประชาชนทั่วไปนั้นมีมากมาย เช่นเดียวกับพระพุทธรูปที่ใส่แว่นตาดำซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่เป็นที่เคารพนับถือของประชาชนชาวสมุทรสาคร ซึ่งพระพุทธรูปองค์นี้นั้นประดิษฐานอยู่ที่ วัดโกรกกราก ในเขตเทศบาลนครสมุทสาคร ตามตำนวนของพระพุทธรูปองค์นี้แต่เดิมเคยประดิษฐานอยู่ที่วัดช่องสะเดา ซึ่งเป็นวัเก่าแก่และร้างตั้งอยู่ริมแม่น้ำท่าจีน ชาวรามัญในสมัยนั้นเห็นว่าวัดนั้นร้างและสิ่งก่อสร้างต่างๆ ได้หักพังทลายลงมา เหลือแต่พระพุทธรูปสององค์ องค์หนึ่งเป็นพระพุทธรูปสำริด อีกองคืหนึ่งเป็นพระพุทธรูปเนื้อศิลาแลงปางมารวิชัย จึงได้อันเชิญพระพุทธรูปล่องเรือมาตามลำแม่น้ำท่าจีน ครั้งมาถึงที่วัดโกรกกราก ได้เกิดพายุฝนตกอย่างหนัก ทำให้ไม่สามารถล่องเรือต่อไปได้ จึงตัดสินใจจดเรือไว้ที่หน้าวัดโกรกกราก แล้วยกพระพุทธรูปศิลาแลงขึ้นเพื่อไม่ให้ถูกฝนชะล้าง พอพายุสงบแล้วชาวรามัญก็จะเดินทางต่อจึงพากันยกพระพุทธรูปลงเรือ ทว่าไม่สามารถยกพระพุทธรูปลงเรือได้เพราะหนักมากกว่าตอนเอาขึ้นหลายเท่า เป็นที่ฉงนต่อชาวรามัญทั้งหมด หนึ่งในชาวรามัญนั้นก็ได้ตั้งใจจิตอธิฐานว่า หากพระพุทธรูปต้องการจะอยู่ที่วัดโกรกกรากก็จะขออัฐเชิญไปไว้ที่พระอุโบสถของวัด เมื่อเสร็จสิ้นคำอธิฐานชาวรามัญทั้งหมดก็ลองยกพระพุทธรูปขึ้นอีกครั้ง ปรากฏว่าสามารถยกได้ง่ายได้ ทั้งหมดจึงได้อัฐเชิญพระพุทธรูปศิลาแลงขึ้นไปไว้ในพระอัโบสถนับตั้งแต่นั้นมา
            ต่อมาเกิดเหตุโรงตาแดงระบาดไปทั่วหมู่บ้านโกรกกราก ในสมัยนั้นการแพทย์ยังไม่ได้เจริญก้าวหน้าเช่นในสมัยนี้ การรักษาก็รักษาแบบชาวบ้านทั่วๆ ไป แต่รักษาอย่างไรก็ไม่หาย ด้วยความที่ชาวบ้านใกล้ชิดกับวัดโกรกราก ต่างก็พากันไปบนบานต่อองค์พระพุทธรูปศิลาแลงว่า ขอให้หายจากโรคตาแดง พร้อมกับนำเอาแผ่นทองคำเปรวไปปิดที่ดวงตาขององค์พระ ปรากฏว่าไม่นานโรงตาแดงที่ระบาดไปทั่วหมู่บ้านก็หาย หลังจากนั้นใครต้องการมาขอพรกับองค์พระต่างก็พากันนำเอาทองคำเปรวมาปิดที่ดวงตาของหลวงพ่อ ครั้งหลวงปู่กรับ หรือพระครูธรรมสาคร ญาณวฒโนได้เป็นเจ้าอาวาสวัดเห็นประชาชนนำแผ่นทองคำมาติดที่ดวงตาขององค์พระมากกว่าส่วนอื่น จึงได้นำแว่นตามาใส่ให้องค์พระ องค์พระจึงได้ใส่แว่นตาดำนับแต่นั้นมา พร้อมกับเป็นประเพณีที่เมื่อใครอยากจะมาขอพรกับองค์พระก็ให้นำเอาแว่นตาดำมาถวายแทน

*** ขอขอบคุณภาพประกอบจาก http://sa-ra1000.blogspot.com
เรียบเรียงโดย “รวมพลคนเข้าครัว

เกาเหลาเลือดหมู

  เกาเหลาเลือดหมู
เมื่อ ราวยี่สิบปีก่อนผมมีอาชีพค้าขายเกาเหลาเลือดหมูอยู่ที่สุขุสวิท 101/1 เป็นการขายของยามดึก คือเริ่มตั้งแต่ 5 ทุ่ม เก็บร้านก็ราวๆ 10 โมง ถ้าพูดถึงอาหารแถวนั้นยามดึกแล้วละก็ หลายคนก็ต้องคิดถึงร้านเกาเหลาของผมเสมอ เกาเหลาเลือดหมูก็เป็นอาหารอีก ชนิดหนึ่งที่ค่อนข้างยุ่งยากเล็กน้อย เพราะต้องล้างเครื่องในให้สะอาดจริงๆ วิธีการล้างให้สะอาดนั้นก็ต้องเอาเครื่องในไปล้างน้ำหลายๆ ครั้ง ครั้งสุดท้ายต้องเอาไปคลุกกับเกลือเม็ดใหญ่ ทิ้งไว้ราวๆ ครึ่งวัน แล้วค่อยเอากลับมาล้างอีกรอบ ส่วนกระเพาะนั้นต้องผ่าครึ่งลูดเอาเมือกออกให้หมด เอามีดขูดสีเหลือๆ ออก แล้วก็เอาไปล้างคลุกเกลือแบบเครื่องในอื่นๆ
                เกาเหลาเลือดหมูนั้นถือว่าเป็นอาหารที่นิยมกินยามเช้าหรือยามเย็น จะกินเปล่าๆ หรือกินกับข้าวก็ได้ทั้งนั้น เลือดหมูนี้คุณสมบัติคือล้างเอาพิษหรือของเสียในลำไส้ได้ดีมากๆ เอาละทีนี้มาดูว่าการทำอาหารที่เรียกว่าเกาเหลาเลือดหมูนั้นมีวิธีทำอย่างไรบ้าง
ส่วนผสม
หมูเนื้อแดง  200 กรัม
หมูสับ    200 กรัม
ตับหมู    100 กรัม
เซ่งจี๊  1 ชิ้น
หัวใจหมู 100 กรัม
เลือดหมูหั่นก้อนพอคำ      2 ก้อน
กระดูกสำหรับต้มน้ำซุป    1 กิโลกรัม
ไช้เท้า    1 หัว
ยอด-ใบอ่อนตำลึง 300 กรัม
ขึ้นฉ่ายหั่นฝอย    100 กรัม
กระเทียมเจียว      2 ช้อนโต๊ะ
ซีอิ๊วขาว 3 ช้อนโต๊ะ
ซอสปรุงรส          1 ช้อนโต๊ะ
น้ำมันหอย            1 ช้อนโต๊ะ
พริกไทยป่น          1/2 ช้อนชา
เกลือป่น                1 ช้อนชา
เครื่องปรุง
น้ำตาลทราย ซีอิ๊วขาว พริกน้ำส้มดอง (เอาไปปั่นรวมกัน) พริกป่น
วิธีทำ
1. หมูสับเติมน้ำมันหอย ซีอิ๊วขาว 1 ช้อนโต๊ะ ซอสปรุงรส คลุกให้ทั่ว พักไว้
2. กระดูกล้างน้ำนำไปใส่หม้อต้มต้มด้วยไฟปานกลางประมาณ 1 ชั่วโมง
3. ปอกไชเท้าให้สะอาด ล้างน้ำหั่นเป็นแว่นๆ หนาประมาณ 1 ซม.หม้อต้มพร้อมเกลือป่น
4. ต้มต่อจนน้ำซุปใส่ไชเท้าสุก ใส่หมูบดปรุงรสที่เตรียมไว้ปั้นเป็นก้อนลงในน้ำซุป พอหมูสุกปิดหม้อต้มยกลง
5. หมูเนื้อแดงล้างน้ำพร้อมเครื่องในหมู หั่นทุกอย่างเป็นชิ้นๆ ลวกในหม้อต้มที่น้ำร้อนจัดประมาณ 1-2 นาทีให้สุก ช้อนขึ้นแยกไว้เป็นอย่างๆ
6. เลือดหมูต้มน้ำเดือดประมาณ 3 นาที ช้อนขึ้นใส่ชามพร้อมน้ำขลุกขลิก
7. เวลา จะทาน เตรียมชามใส่ตำลึงตามชอบ ใส่เลือดหมู หมูลวก เครื่องในลวก ตักน้ำซุปพร้อมหมูสับที่เดือดจัดใส่ลงในชาม โรยหน้าด้วยขึ้นฉ่ายหั่นฝอยและพริกไทยป่น เสิร์ฟพร้อมเครื่องปรุง และข้าวสวยร้อนๆ
ขอขอบคุณภาพจาก http://www.learners.in.th/blogs/posts/386616
เรียบเรียงโดย “รวมพลคนเข้าครัว

เชียงของประตูสู่อินโดจีน



เชียงของประตูสู่อินโดจีน



อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ซึ่งได้ชื่อว่าเป็น เมืองแห่งแม่น้ำโขง และยังเป็นอีกหนึ่งอำเภอในประเทศไทยที่มีอาณาเขตติดกับประเทศลาว (สปป.ลาว) อดีตเป็นเมืองที่ไม่น่าสนใจเท่าใดนัก หากแต่ปัจจุบันเป็นเมืองที่ขึ้นชื่อเป็นอันดับต้นๆ ทางภาคเหนือ โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวที่ต้องการเดินทางข้ามไปยังแขวงบ่อแก้ว ประเทศลาว (สปป.ลาว) ทว่าอำเภอเชียงของไม่เพียงแต่เป็นทางผ่านเท่านั้น อำเภอแห่งนี้ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวน่าสนใจอีกมากมายเช่น  
วัดพระแก้วและวัดหลวง เป็นวัดคู่บ้านคู่เมือง และเป็นวัดที่เคารพศรัทธาของคนเมืองเชียงของ (ของแปลว่าโขง) สร้างขึ้นมาตั้งแต่ครั้งตำนาน ตำมิละ หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ลัวะ ผ่านยุคสมัยต่างๆ มากมากมายล่วงจนถึง ขรรัฐ ก่อนจะเป็นเชียงของในปัจจุบัน
วัดแห่งนี้นั้นเดิมเคยเป็นที่ประทับของพระแก้มรกต ซึ่งชื่อของวัดก็มีความสัมพันกับเรื่องเล่าของลูกแก้วที่ลอยข้ามไปมาระหว่างสองประเทศ ทุกวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนยี่ หรือประมาณเดือนธันวาคม (นับตามแบบล้านนาเมืองเชียงของ) ทางวัดจะจัดให้มีงานสรงน้ำพระธาตุ 
บ้านหาดบ้ายหาด-ทรายทอง เป็นที่อยู่ของหมู่บ้านชาวไทลื้อ ซึ่งที่นี่นอกจากจะได้สัมผัสวิธีชีวิตของประชาชนท้องถิ่นแล้ว ยังสามารถเลือกซื้อผ้าทอที่ขึ้นชื่อของประเทศ เรียกว่าผ้าทอไทลื้อ ซึ่งมีความสวยงามและดำรงเอกลักษณ์เป็นของตนเอง นอกจากจะได้เลือกซื้อผ้าสวยๆ แล้วยังสามารถสัมผัสวิถีชีวิตของผู้คนริมน้ำทั้งสองฝั่ง โดยการนั่งเรือชม ซึ่งตลอดเส้นทางการเดินเรือนั้นจะเห็นความงามทางธรรมชาติ ทั้งเกาะแก่งน้อยใหญ่ตั้งอยู่เรียงราย เกาะแก่งต่างๆ เหล่านี้เป็นที่อยู่อาศัยของปลานานาชนิด และยังเป็นแหล่งอาหารของชาวบ้านทั้งสองฝั่งอีกด้วย
เมืองเชียงของนอกจากจะมีแม่น้ำโขงกว้างใหญ่เป็นฉากที่สร้างความประทับใจแด่ผู้มาเยือนแล้ว พระเอกอีกสิ่งหนึ่งที่จะไม่กล่าวถึงไม่ได้นั้นก็คือ ปลาบึก ทุกปีช่วงเดือน เมษายน พฤษภาคม จะมีเทศกาลการจัดปลาบึกที่บ้านห้วยไคร้ ตั้งอยู่ที่หม่ 12 ตำบลเวียง อำเภอเชียงของ แต่เดิมปลาบึกนี้เป็นปลาที่ชาวบ้านจับขึ้นมาเป็นอาหารทั่วไป ทว่าเมื่อมีกระแสการท่องเที่ยวเข้ามา ปลาบึกจึงถูกจับนำมาขายแด่นักท่องเที่ยวและร้านอาหารมากมาย ทำให้ปลาบึกเริ่มจะสูญพันธุ์ลงไป ต่อมาทางชมรมปลาบึกจึงได้จัดให้มีการจับปลาบึกเฉพาะในช่วงเวลาที่ได้กล่าวไปแล้ว โดยก่อนจะจับปลาบึกนั้นจะมีพิธีเซ่นไหว้ผีหลวงหรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่าเทพเจ้าปลาบึกซึ่งเป็นพิธีแต่เก่าก่อน ต่อมาจึงเป็นงานบวงสรวงที่ใหญ่โตโดยขึ้นทุกปี แต่เป็นที่น่าเสียดายว่า เมื่อไม่กี่ปีมานี้ปลาบึกที่เคยจับได้นั้นกลับไม่เคยโผล่ให้เห็น หรือมีให้เห็นก็น้อยมาก จากสัตว์ที่ถูกล่าเพื่อนำมาเป็นอาหารปัจจุบันกลายเป็นสัตวืที่ชาวเชียงของอนุรักษ์และหวงแหนอย่างยิ่ง.