วันจันทร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

พิพิธภัณฑสถานบ้านเชียง

พิพิธภัณฑสถานบ้านเชียง




                เมื่อปีพ.ศ. 2535 ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 16 ที่เมืองแซนตาเฟ ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยผ่านข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณาแหล่งโบราณคดีบ้านเชียงได้เป็นมรดก โลก เนื่องจากแหล่งโบราณคดีฯ นี้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทาง โบราณคดีที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก ตั้งอยู่ที่จังหวัดอุดรธานี การขุดพบแหล่งโบราณคดีนี้ทำให้ทราบถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในสมัย ก่อนประวัติศาสตร์ย้อนกลับไปได้ถึง 5,000 ปี

                การขุดพบครั้งนั้นทำให้เห็นร่องรอยมองมนุษย์ในประเทศไทย ซึ่งทำให้เห็นถึงวิถีชีวิตและวัฒนธรรมชุมชนที่พัฒนาขึ้นในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะความรู้และภูมิปัญญาในเรื่องของการปั้นเครื่องปั้นดินเผาซึ่งสามารถ แบ่งออกได้ 3 ยุคคือ  ยุคภาชนะดินเผาสมัยต้น อายุ 5,600-3,000 ปี โดยดูได้จากการมีลายเชือกทาบ ซึ่งคาดกันว่าเป็นปอกัญชา ทั้งยังมีลายขูดขีด และมีการเขียนสีบ่า โดยพบวางคู่กับโครงกระดูก บางใบใช้บรรจุศพเด็กด้วย ยุคภาชนะดินเผาสมัยกลาง อายุ 3,000 ปี-2,300 ปี สมัยนี้เป็นสมัยที่เริ่มมีการขีดทาสีแดงแล้ว ยุคภาชนะดินเผาสมัยปลาย อายุ 2,300 ปี-1,800 ปี เป็นยุคที่มีลวดลายที่สวยงามที่สุด ลวดลายพิสดาร สะท้อนให้เห็นถึงสภาพสังคมที่สงบสุข ก่อนที่จะกลายมาเป็นการเคลือบน้ำโคลนสีแดงขัดมัน และ ยุคสำริด ในครั้งนั้นชาวบ้านเชียงนิยมทำเครื่องมือเครื่องใช้ และเครื่องประดับจากสำริดในระยะแรก ก่อนที่จะรู้จักใช้เหล็ก ชาวโพลีนีเซียมีหลักฐานว่านิยมใช้สำริดเช่นกัน ใช้ทำเป็นกลองมโหระทึก

                ในการเดินทางแวะชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียงนั้นสามารถเข้าชมได้ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 9.00 น – 17.00 น. โดยการเดินทางนั้นใช้ทางหลวงหมายเลข 22 อุดรธานี – สกลนคร เมื่อถึงกิโลเมตรที่ 50 บริเวณปากทางเข้าบ้านปูลู จะพบป้ายบอกทางไปสู่พิพิธภัณฑ์ด้านซ้ายมือ เข้าสู่ถนนหลวงหมายเลข 2225 อีกประมาณ 6 กิโลเมตร ก็จะถึงพิพิธภัณฑ์

*เรียบเรียงโดย กินเที่ยวทั่วไทย
**ภาพประกอบจาก http://th.wikipedia.org

เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์

เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์




                เขื่อนที่มีความสวยงามและเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ประชาชนให้ความสนใจเดิน ทางไปเที่ยวมากแห่งหนึ่งคงเป็นที่อื่นไม่ได้นอกจาก “เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์” ซึ่ง ตั้งอยู่ที่บ้านหนองบัว อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี ลักษณะเป็นเขื่องดินที่ยาวที่สุดในประเทศไทย ซึ่งมีแม่น้ำสำคัญไหลผ่านั้นก็คือ “มีน้ำป่าสัก ซึ่งใหญ่เป็นอันดับที่ 13 ในจำนวน 25 แม่น้ำสายใหญ่และสำคัญของประเทศไทย มีพื้นที่เป็นลุ่มน้ำ เป็นพื้นที่ลุ่มน้ำประมาณ 14,520 ตารางกิโลเมตร มีลักษณะของลุ่มน้ำแคบเรียวยาว แหล่งต้นน้ำอยู่จังหวัดเลย ลำน้ำมีความยาว 513 กิโลเมตร ไหลผ่านจังหวัดเพชรบูรณ์ ลพบุรี สระบุรี และมาบรรจบกับแม่น้ำเจ้าพระยาที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีปริมาณน้ำท่าเฉลี่ยประมาณ 2,400 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปีโดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชดำริเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2532 ให้กรมชลประทานศึกษาความเหมาะสมของโครงการเขื่อนกักเก็บน้ำแม่น้ำป่าสัก อย่างเร่งด่วน เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำ เพื่อประโยชน์ต่อพื้นที่เพาะปลูก และ บรรเทาปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นประจำในลุ่มน้ำป่าสัก เป็นผลสืบเนื่องมายังเขตกรุงเทพมหานคร และเขตปริมณฑลด้วย ซึ่งนำความเดือนร้อนมาให้ราษฎร์เกือบทุกปี ต่อมาเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2536 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำรัส  เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนพรรษา เกี่ยวกับการพัฒนาแหล่งน้ำของกรมชลประทานว่า หากเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปัจจุบัน ก็สามารถแก้ปัญหาน้ำท่วม ภัยแล้ง และขาดแคลนน้ำให้กับประชาชนได้ จะต้องก่อสร้างเขื่อน 2 แห่ง ที่แม่น้ำป่าสัก และแม่น้ำนครนายก ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้ดำเนินการ เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2537 โครงการนี้ใช้เวลาก่อสร้าง 5 ปี ระหว่าง พ.ศ. 2537 - 2542 และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาพระราชทานนามเขื่อนนี้ว่า "เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์" อันหมายถึง "เขื่อนแม่น้ำป่าสักที่เก็บกักน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ" เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ได้เริ่มเก็บกักน้ำครั้งแรกเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2541

                สภาพโดยทั่วไปของเขื่อนนั้นมีความสวยงามตามธรรมชาติ สามารถศึกษาและดูวิถีชีวิตของชาวบ้านที่ทำการประมงแถวนั้นได้ มีสถานที่ท่องเที่ยวที่ น่าสนใจคือ พิพิธภัณฑ์ลุ่มน้ำป่าสัก เป็นพิพิธภัณฑ์ที่แสดงให้เห็นถึงวิธีของชาวบ้านที่อาศัยอยู่ลุ่มน้ำป่าสัก และวิธีชีวิตของชาวไทยเบิ้งซึ่งเคยอาศัยอยู่ในพื้นที่บริเวณเขื่อนมาก่อน อีกทั้งยังมีรถลากไว้คอยบริการนักท่องเที่ยวที่ต้องการชมความงามตามสันเขื่อน หากเดินทางมาตรงกับช่วงที่ดอกทานตะวันบาน (บานประมาณปลายเดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม) นักท่องเที่ยวจะ เห็นความงามของดอกทานตะวันบานอยู่ริมสันเขื่อนสีเหลืองทองสดใสกว้างไกลสุด ลูกหูลูกตา การเดินทางไปยังเขื่อนป่าสักนั้นสามารถเดินทางไปเช้าเย็นกลับโดยอาศัยรถไฟไป ลงที่หนาปากทางเข้าเขื่อนได้ แต่ถ้าหากนักท่องเที่ยวต้องการพักที่เขื่อนนั้นก็สามารถทำได้โดยติดต่อได้ที่เจ้าหน้าที่เขื่อน

*เรียบเรียงโดย กินเที่ยวทั่วไทย
***ภาพประกอบโดย http://th.wikipedia.org/wiki