วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

วัดไตรมิตรวิทยาราม กรุงเทพมหานคร

วัดไตรมิตรวิทยาราม กรุงเทพมหานคร


                วัดที่ประชาชนเดินทางมาเคารพสักการะมากวัดหนึ่งในกรุงเทพฯ นั้นคือวัดไตรมิตรวิทยาราม ตั้ง อยู่ที่ถนนเจริญกรุง แขวงตลาดน้อย วัดแห่งนี้เป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่ง ซึ่งเดิมมีชื่อเรียกว่า “วัดสามจีน” จากการตั้งชื่อนี้เข้าใจว่าน่าจะก่อตั้งโดนคนจีน 3 คน เป็นผู้ร่วมก่อสร้างพรอารามเพื่อเป็นวิหารทานบุญ เช่นเดียวกับวัดสามปลื้มหรือวัดจักรวรรดิฯ นั้นเอง ครั้งเมื่อปี พ.ศ. 2477 พระมหากิ๊ม สุวรรณชาต ซึ่งมีตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสในสมัยนั้นเป็นผู้ริเริ่มการลงมือปรับปรุงวัด ราวๆ ปี พ.ศ.2480 หลังจากได้รับอนุมัติจากมหาเถระสมาคมอนุญาตให้ปรับปรุงแล้วในปี พ.ศ. 2582 ก็ได้มีประชาชน คณะครูและนักเรีนมาร่มกับบูรณะปฏิสังขรวัดนี้ให้ดีขึ้นก่อนจะเปลี่ยนชื่อวัด เสียใหม่จากเดิมวัดสามจีนเป็นวัดไตรมิตรวิทยาราม ซึ่งมีความมายถึงคนจีนที่เป็นเพื่อนหรือมิตรกันสามคนร่วมก่อสร้างขึ้น ครั้งเมื่อปรับปรุงวัดเสร็จแล้วก็มีการสร้างโรงเรียนปริยัติธรรมและโรงเรียน ระดับมัธยมของรัฐบาลอยู่ภายในบริเวณของวัดอีกด้วย

                แหล่งท่องเที่ยวสิ่งที่มีความสำคัญและเป็นที่เคารพสักการะของประชาชนทั่วไปของวัดนี้คือ พระสุโขทัยไตรมิตร ซึ่งเป็นพระพุทธรูปทองคำขนาดใหย่ที่สุดและได้รับการบันทึกในหนังสือกินเนส บุ๊คออฟเรคคอดร์ ด้วยองค์พระมีขนาดหน้าตักกว้าง กว้าง 3.01 เมตร สูง 3.91 เมตร องค์พระสามารถถอดได้ 9 องค์ จากฐานองค์พระขึ้นไปเนื้อทองบริสุทธิ์ 40 %พระพักตร์มีเนื้อทอง 80 % ส่วนพระเกศมีน้ำหนัก 45 กิโลกรัม เป็นเนื้อทองบริสุทธิ 99.99 % โดยสันนิษฐานกันว่าพระพุทธรูปองคืนี้สร้างขึ้นในสมัยสุโขทัย เป็นพระพุทธรูปแบบปางมารวิชัย เดิมเข้าใจว่าประดาฐานอยู่ที่จังหวัดสุโขทัย ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้โปรดให้กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท จึงได้ไปอันเชิญ พระพุทธรูปมาจากเมืองเหนือเพื่อนำมาประดิษฐานยังวัดสำคัญ พระพุทธรูปที่เชิญมามีจำนวนมาก ทำให้ดูแลไม่ทั่วถึง ขุนนางผู้หนึ่งจึงแอบเอาปูนไล้พระพุทธรูปทองคำแล้วนำมาไว้ยังวัดที่ตนสร้าง จนได้อันเชิญมาไว้ที่วัดพระยาไกร (วัดโชติการาม) ต่อมาบริษัทอิสท์เอเซียติกได้ขอเช่าที่วัด (ซึ่งขณะนั้นเป็นวัดร้างแล้ว) เป็นโรงเลื่อยจักร จึงได้อันเชิญไว้ที่ข้างพระเจดีย์และปลูกเพิงสังกะสีมุงเป็นหลังคากั้นไว้ อย่างหยาบ ๆ หลังจากนั้นเป็นเวลาเกือบ 20 ปี เมื่อพระอุโบสถและพระวิหารหลังใหม่สร้างเสร็จ จึงได้อัญเชิญชั้นประดิษฐาน แต่ในระหว่างการเคลื่อนย้ายปูนที่หุ้มองค์พระกะเทาะออก จึงทำให้เห็นองค์พระข้างในเป็นทองคำ เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2498 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามพระพุทธรูปทองคำองค์นี้ใหม่ว่า “พระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร”

*เรียบเรียงโดย กินเที่ยวทั่วไทย
**ภาพประกอบจาก http://www.kammatan.com/board/index.php?topic=698.0

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น