วันจันทร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

พิพิธภัณฑสถานบ้านเชียง

พิพิธภัณฑสถานบ้านเชียง




                เมื่อปีพ.ศ. 2535 ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 16 ที่เมืองแซนตาเฟ ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยผ่านข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณาแหล่งโบราณคดีบ้านเชียงได้เป็นมรดก โลก เนื่องจากแหล่งโบราณคดีฯ นี้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทาง โบราณคดีที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก ตั้งอยู่ที่จังหวัดอุดรธานี การขุดพบแหล่งโบราณคดีนี้ทำให้ทราบถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในสมัย ก่อนประวัติศาสตร์ย้อนกลับไปได้ถึง 5,000 ปี

                การขุดพบครั้งนั้นทำให้เห็นร่องรอยมองมนุษย์ในประเทศไทย ซึ่งทำให้เห็นถึงวิถีชีวิตและวัฒนธรรมชุมชนที่พัฒนาขึ้นในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะความรู้และภูมิปัญญาในเรื่องของการปั้นเครื่องปั้นดินเผาซึ่งสามารถ แบ่งออกได้ 3 ยุคคือ  ยุคภาชนะดินเผาสมัยต้น อายุ 5,600-3,000 ปี โดยดูได้จากการมีลายเชือกทาบ ซึ่งคาดกันว่าเป็นปอกัญชา ทั้งยังมีลายขูดขีด และมีการเขียนสีบ่า โดยพบวางคู่กับโครงกระดูก บางใบใช้บรรจุศพเด็กด้วย ยุคภาชนะดินเผาสมัยกลาง อายุ 3,000 ปี-2,300 ปี สมัยนี้เป็นสมัยที่เริ่มมีการขีดทาสีแดงแล้ว ยุคภาชนะดินเผาสมัยปลาย อายุ 2,300 ปี-1,800 ปี เป็นยุคที่มีลวดลายที่สวยงามที่สุด ลวดลายพิสดาร สะท้อนให้เห็นถึงสภาพสังคมที่สงบสุข ก่อนที่จะกลายมาเป็นการเคลือบน้ำโคลนสีแดงขัดมัน และ ยุคสำริด ในครั้งนั้นชาวบ้านเชียงนิยมทำเครื่องมือเครื่องใช้ และเครื่องประดับจากสำริดในระยะแรก ก่อนที่จะรู้จักใช้เหล็ก ชาวโพลีนีเซียมีหลักฐานว่านิยมใช้สำริดเช่นกัน ใช้ทำเป็นกลองมโหระทึก

                ในการเดินทางแวะชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียงนั้นสามารถเข้าชมได้ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 9.00 น – 17.00 น. โดยการเดินทางนั้นใช้ทางหลวงหมายเลข 22 อุดรธานี – สกลนคร เมื่อถึงกิโลเมตรที่ 50 บริเวณปากทางเข้าบ้านปูลู จะพบป้ายบอกทางไปสู่พิพิธภัณฑ์ด้านซ้ายมือ เข้าสู่ถนนหลวงหมายเลข 2225 อีกประมาณ 6 กิโลเมตร ก็จะถึงพิพิธภัณฑ์

*เรียบเรียงโดย กินเที่ยวทั่วไทย
**ภาพประกอบจาก http://th.wikipedia.org

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น